วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14
วันพฤหัสบดี ที่ 28 เมษายน 2559 (ชดเชย)
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
         วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับวิธีการเขียนแผนคณิตศาสตร์ในหนึ่งสัปดาห์ ดังนี้
         แนวคิด คือเครื่องมือในการตัดสิน ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน โดยแนวคิดของกลุ่มตัวฉัน คือ ตัวฉันมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป มีส่วนประกอบอวัยวะต่างๆ เหมือนหรือแตกต่างกันได้ ซึ่งเราจะต้องดูแลรักษา ตัวฉันมีทั้งประโยชน์และอาจจะมีข้อควรระวังในการปฏิบัติ
         ประสบการณ์สำคัญ คือ สิ่งที่เด้กกำลังจะได้ทำ ประสบการณ์ทำให้เกิดการเรียนรุ้ เพื่อพัฒนาการเปลี่ยนแปลงพฟติกรรม เพื่อเอาตัวรอดในสังคม
         ด้านร่างกาย การมีประสาทสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อกับอวัยวะ
         ด้านอารมณ์ การแสดงออกทางอารมณ์ การรับรู้ทางอารมณ์ของผู้อื่น
         ด้านสังคม การช่วยเหลือตนเองได้
         ด้านสติปัญญา การใช้ภ่ษา การคิดสร้างสรรค์ คิดเชิงเหตุผล
โดยมีวิธีการตารางเวลาการสอน ดังนี้
      1. กิจกรรมเคลื่อนไหว
      2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
      3. กิจกรรมสร้างสรรค์
      4. กิจกรรมเสรี
      5. กิจกรรมกลางแจ้ง
      6. เกมการศึกษา
โดยกิจกรรมสร้างสรรค์ของกลุ่มตัวฉัน คือ ดินน้ำมัน วัสดุจากธรรมชาติมาทำเป็นสมาชิกในครอบครัว และพิมพ์ภาพจากอวัยวะ และเกมการศึกษา คือ พื้นฐานการบวก
        สุดท้ายอาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม นำนิทานออกไปให้ตรวจสอบ

ทักษะ/การคิด
      วิธีการสอนแผน ต้องประยุกต์ให้สอดคล้องกับการเรียนหน่วยนั้นๆ

บรรยากาศการเรียน
     สนุกสนาน และแอร์เย็นจนหนาว

การจัดการเรียนการสอน
      อาจารย์อธิบายวิธีการเขียนแผนการสอนเป็นขั้นตอน และละเอียดมาก ทำให้เข้าใจได้ง่าย

การวิเคราะห์ตนเอง
      สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมได้ดี

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13
วันศุกร์ ที่ 22 เมษายน 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
       วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม ช่วยกันแต่งนิทานตามที่ได้รับมอบหมายตามวัน และร่างแผนการจัดประสบการณ์ตามวันที่ตนเองได้รับมอบหมายตามกลุ่ม และบอกวิธีการแต่งนิทานสำหรับเด็กดังนี้ คือ ต้องเข้าใจง่าย สามารถอธิบายเรื่องราวได้มาก จากคำที่เราบรรยายออกมาเป็นเนื้อเรื่องราว เรื่องราวของนิทานจะดำเนินเรื่องอย่างไร ทำแบบไหน และครูต้องให้เด็กมีส่วนร่วมและเกิดการคิด

ทักษะ/การคิด
       วิธีการแต่งนิทานให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาได้ง่าย

บรรยากาศในการเรียน
       เรียนสบาย สนุก 

การจัดการเรียนการสอน
       อาจารย์ให้แต่ละแต่งนิทาน และร่างแผนการสอนในแต่ละวัน

การวิเคราะห์ตนเอง
       มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมดี

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันศุกร์ ที่ 1 เมษายน 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
             เริ่มต้นการเรียนการสอน โดยอาจารย์ให้ออกมานำเสนอบทความเกี่ยวกับการใช้ตัวเลขคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เช่น ไปโรงเรียน ก็ให้เด็กอ่านทะเบียนรถ โตขึ้นมาหน่อยก็ให้บวกเลขในทะเบียนรถ  ไปซูปเปอร์มาเก็ต ก็ให้เด็กเรียนรู้เรื่อง ราคาสินค้า ปริมาณ รูปทรง ลิตร ปริมาตร การเปรียบเทียบ และขนาด โดยใช้เด็กดูราคาสินค้า โตขึ้นมาหน่อยก็ให้เปรียบเทียบราคาสินค้า บวกลบเงิน บทความนี้ มีแนวคิดว่า อยากให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์ ต้องสอนตั้งแต่เด็ก ใช้การเลือก การเปรียบเทียบในเวลานั้น นำตัวเลขที่อ่านเป้นเลขเดี่ยวทีละตัว มาใช้สอนเด็ก เช่น เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น 
              ตัวอย่างการสอน คือ นำสิ่งของที่อยู่รอบตัวมาเป็นสื่อ รูปทรงต่างๆ จะต้องสอดคล้องเข้ากับชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องขนม ขนมคน รูปสี่เหลี่ยม  ขนมต้ม รูปสามเหลี่ม
              งานวิจัย การสร้างหนังสือผ้า โดยนำสื่อมาใช้ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
              บทความ การเล่นโดยให้เด็กสัมผัสจริงและแบบจำลอง ให้เด็กเรียนเป็นกลุ่ม เช่น เรื่องดอกไม้ ให้เด็กเรียนชนิดของดอกไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ สีดอกไม้ และวาดภาพ
              การเรียนวันนี้ อาจารยืให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน่อยการเรียนของกลุ่มตนเอง โดยแบ่งเป็น 2 วัน คือ วันจันทร์กับวันอังคาร
              วันจันทร์  กลุ่มผัก และ กลุ่มผีเสื้อ
              วันอังคาร กลุ่มยานพาหนะ กลุ่มผลไม้ และกลุ่มตัวฉัน

ทักษะ/การคิด
              หน่วยต่างๆ กระบวนการ ที่ใช้สอนเด็กในแต่ละวัน

บรรยายกาศการเรียน
              แสงเยอะไปหน่อย เจ็บตา

การจัดการเรียนการสอน
             อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มสอนหน่วยที่เลือกไว้ของวันนั้น แล้วอาจารย์คอยชี้แนะ แนะนำ หลังสอนเสร็จเป็นรายกลุ่มไป เพื่อให้รู้วิธีและนำไปปรับปรุง

การวิเคราะห์ตนเอง
             วันนี้ไม่มองการสอนเพื่อนเท่าไร เพราะเจ็บตา

ภาพกิจกรรม













วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

บันทึการเรียน ครั้งที่ 11
วันศุกร์ ที่ 25 มีนาคม 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
        อาจารย์ให้ออกมารายงานบทความ ตัวอย่างการสอน งานวิจัย ตามที่ได้รับผิดชอบ โดยบทความวันนี้เกี่ยวกับการนับเลขที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ที่เป็นนามธรรม ส่วนตัวอย่างการสอนในวันนี้เกี่ยวกับบทบาทสมมุติ โดยใช้วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่น และเชื่อมโยงกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำงานตามหน่วยที่ตนเองรับผิดชอบ แล้วแบ่งตามวัน จากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มอธิบายหน่วยวิธีการที่จะสอนเโ้กใน 1 สัปดาห์

ทักษะ/การคิด
      หน่วยย่อยในแต่ละวันที่จะสอนเด็ก ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้

บรรยากาศการเรียน
      โล่งสบาย แต่แสงเยอะไปหน่อย

การจัดการเรียนการสอน
      อาจารย์นำหน่วยย่อยของแต่ละกลุ่มมาเชื่อมโยง อธิบายให้สอดคล้องกัน

การวิเคราะห์ตนเอง
     ยังทำงานไม่ดีพอ

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

บันทีกการเรียน ครั้งที่ 10
วันศุกร์ ที่ 18 มีนาคม 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.


หมายเหตุ : ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
             อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำหน่วยเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9 วันศุกร์ ที่ 11 มีนาคม 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วันศุกร์ ที่ 11 มีนาคม 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
           อาจารย์ให้นำกระดาษเหลือจากจากกล่องลัง มาประดิษฐ์แบบวัด IQ 

ทักษะ/การคิด
          - วิธีการเล่น คิดวิเคราะห์ สังเกตแบบวัด IQ
          - การประดิษฐ์ ประยุกต์ของเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์

บรรยากาศการเรียน
         โล่งๆ วุ่นวายกับการเก็บห้อง รื้อห้องเรียน

การจัดการเรียนการสอน
          อาจารย์นำตัวอย่างสื่อ มาเป็นแบบในการประดิษฐ์แบบวัด IQ

การวิเคราะห์ตนเอง
          มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมดี

ภาพกิจกรรม





บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8 วันศุกร์ ที่ 4 มีนาคม 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8
วันศุกร์ ที่ 4 มีนาคม 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
         อาจารย์ให้ออกมานำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และงานวิจัยตามสัปดาห์ที่ได้รับผิดชอบ  จากนั้นอาจารย์ให้จับคู่ 2 คน ทำเกมการศึกษา โดยมีวิธีทำดังนี้
          1. อาจารย์แจกกระดาษสี่เหลี่ยมจตุรัสให้
          2. ให้แบ่งครึ่งกระดาษออกเป็น 2 ฝั่ง
          3. นำกระดาษร้อยปอนด์มาตัดแล้วแบ่งครึ่งเหมือนกระดาษลัง
          4. ตีตารางสี่เหลี่มในกระดาษร้อยปอนด์
          5. ทากาวลงในกระดาษลัง แล้วนำกระดาษร้อยปอนด์มาติด
          6. นำเทปสันสีดำมาติดตามเส้นในตาราง
          7. นำเทปใสมาติดประกบให้กระฝั่งติดกัน
          8. นำสคิ๊กเกอร์ใสมาเคลือบ

ทักษะ/การคิด
         - การคำนวณ การคะเน รูปทรง

บรรยากาศการเรียน
         สนุกสนาน กับการทำแผ่นเกม

การจัดการเรียนการสอน
        อาจารย์นำกระดาษมาเป็นข้อแก้ปัญหา แล้วให้คิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาเกี่ยวกับชิ้นงานที่ทำ

การวิเคราะห์ตนเอง
         สนุก มีส่วนร่วมการกิจกรรมอย่างมาก

ภาพกิจกรรม







บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7 วันศุกร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันศุกร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.




**สอบกลางภาค**

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6 วันศุกร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6
วันศุกร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
           เริ่มการเรียนการสอนโดยอาจารย์แจกดินน้ำมันให้ 1 ก้อน ต่อ 2 คน แล้วอาจารย์ก็สั่งให้แต่ละคนทำรูปสามเหลี่ยม จากไม้ที่ตนเองมีอยู่ 3 ขนาด ตามที่นักศึกษาเลือก แล้วจากนั้นให้จับคู่ 2 คน นำสามเหลี่ยมมาประกอบอย่างไรให้เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม แล้วอาจารย์ก็ถามความคิดเห็น จากสิ่งที่เราทำออกมาว่ามีแนวคิดอย่างไร จากนั้นก็ให้ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม และทรงสี่เหลี่ยม โดยมีเนื้อหาที่อาจารย์กำหนด คือ วิเคราะห์โจทย์ปัญหา/แนวคิด/ศึกษาวัสดุที่มีอยู่/ลงมือทำ/ผลงาน/นำเสนอ จากนั้นก็ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และงานวิจัยตามสัปดาห์ที่รับผิดชอบ

ทักษะ/การคิด
        -  อาจารย์ให้เด็กลองผิดลองถูกดูก่อน
        - อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
        - อาจารย์ตั้งคำถามให้คิดวิเคราะห์ แล้วนำเสนอแนวคิดของตนเองออกมา

บรรยากาศในการเรียน
        เกิดความวุ่นวาย เสียงดัง หนาแน่นเกินไป เนื่องจากมีเซค 101 มาเรียนร่วม

การจัดการเรียนการสอน
         อาจารย์ตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้เกิดการคิดวิเคราะห์ แล้วนำเสนอออกมา แลัวอาจารย์ค่อยอธิบายแนวคิดนั้นเพิ่มเติม

การวิเคราะห์ตนเอง
         สนใจการเรียนปานกลาง รู้สึกอึดอัด หงุดหงิดบ้าง เนื่องจากบรรยากาศในห้องหนาแน่น และเสียงดัง

ภาพกิจกรรม







        

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5
วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนโดยการแจกกระดาษให้คนละหนึ่งแผ่น แล้วให้ทำตาราง 2 ตาราง ตารางแรก 2 แถว 10 ช่อง  ตารางที่สอง 4 แถว 10 ช่อง  ตารางแรกให้แรเงา 2 ช่อง ตารางที่สองให้แรเงา 3 ช่อง แล้วถามวิธีการแก้ปัญหาในการสอนเด็กเรื่องรูปทรง การนำรูปในตารางไปใช้ วิธีการสังเกตว่ารูปทรงนั้นจะหมุนไปตามทิศทางเดียวกันเมื่อเปลี่ยนมุม โดยการสอนเรื่องนี้ ต้องให้เด็กมีอิสระในการคิด การทำ เพราะเป็นวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และต้องเลือกรูปที่ง่ายต่อการตัดของเด็ก เช่น รูปสี่เหลี่ยม จำนวน 2 - 3 รูป ที่สามารถสร้างรูปทรงได้อีกหลายๆ รูปทรง ต้องจัดกิจกรรมให้เด็กลองทำก่อน แล้วค่อยตัดออกมาให้เด็กทำ เป็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กสืบเสาะ และวิธีการเรียนรู้ต้องสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน สอดคล้องกับการเรียนรู้ โดยระหว่างทำตารางแรเงา อาจารย์ก็ให้ดูหนังสือนิทานเรื่อง เต่าน้อยหัดวาดรูป ไปด้วย จากนั้นก็ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และงานวิจัย ตามตารางที่รับผิดชอบ จากนั้นอาจารย์ก็ให้ดูวีดีโอการสอนโปรเจ็คเรื่องเห็ด ของโรงเรียนเกษมพิทยา เพื่อเป็นตัวอย่างในการทำรายงานของนักศึกษา โดยการทำ Mind Map ต้องเรียงจากขวาไปซ้าย หรือการเดินตามเข็มนาฬิกา






การนำไปประยุกต์ใช้
        - สามารถนำวิธีการสอนรูปทรงไปปรับใช้เป็นตัวอย่างการสอนในอนาคตได้
        - สามารถนำวิธีการจัดการเรียนการสอนไปปรับใช้เป็นตัวอย่างการสอนในอนาคตได้
        - สามารถนำรูปทรงต่างๆ มาสอดแทรกการสอนเรื่องคณิตศาสตร์กับเด็กในชีวิตประจำวันได้

การจัดการเรียนการสอน
        อาจารย์นำรูปทรงต่างๆ มาสอดแทรกให้สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน และสอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก
บรรยากาศในการเรียน
        สนุกสนาน แต่มีตอนทำตารางที่งงอยู่บ้างในตอนแรก
ทักษะที่ได้รับ
       - การสังเกต
       - วิธีการทำให้เกิดการเรียนรู้
       - รูปทรง
       - วิธีการจัดการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน

การประเมินตนเอง
       สนุก ตั้งใจเรียนดี สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย 

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4 วันศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4
วันศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
          อาจารย์เริ่มการเรียนโดยการนำบอร์ดวันที่มาด้วยดู แล้วให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์รายละเอียดในบอร์ดกว่าขาดอะไรไปบ้าง และจะนำไปดัดแปลงกับกิจกรรมอื่นได้อย่างไร เช่น เวรประจำวันของเด็ก รายชื่อวันเกิดของเด็กในแต่ละเดือน เป็นต้น และวิธีการสอน ตั้งเกณฑ์ เครื่องมือในการใช้ประดิษฐ์ เลขที่เกี่ยวกับในชีวิตประจำวันของเด็ก แล้วให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ แล้วสอนเพลงเก็บเด็ก และให้แต่งดัดแปลงเพลงจากเพลงบวก-ลบ ดังนี้
เพลง จับปู
หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า     จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
      หก เจ็ด แปด เก้า สิบ    ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
 กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ    นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
อีกฝูงบินล่องลอยมา  หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว

เพลง นับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน             มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว             มือขวาก็มีห้านิ้ว
                                               นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า   นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
                                               นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ            นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

เพลง บวก-ลบ
                                               บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ      ครูให้อีกสามใบนะเธอ
                                               มารวมกันนับดีดีซิเออ    ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
                                               บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ   หายใจสามใบนะเธอ
                                               ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ     ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

เพลง บวก-ลบ (ดัดแปลง)
                                              อ่างน้ำมีปลาน้อยหกตัว    เพื่อนให้อีกสามตัวนะเธอ
                                              มารวมกันนับดีดีซิเออ       ดูซิเธอรวมกันได้เก้าตัว
                                              อ่างน้ำปลาน้อยเก้าตัว      หายไปสามตัวนะเธอ
                                              ฉันหาปลาน้อยไม่เจอ       ดูซิเออเหลือเพียงแค่หกตัว

เพลง แม่ไก่ออกไข่
                                               แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง      ไข่วันละฟอง
                                               แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน        หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
                                               (นับต่อไปเรื่อยๆ)
                                               แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน         สิบวันได้ไข่สิบฟอง

เพลง ลูกแมวสิบตัว
                                       ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้            น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
                                       ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป     นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
                                              (ลดจำนวนลงไปตามลำดับจนกระทั่งเหลือหนึ่งตัว)
                                       ลูกแมวหนึ่งตัวก็เหลือน้อยลงไป   นับดูใหม่ไม่เหลือลูกแมวสักตัว

การจัดการเรียนการสอน
             อาจารย์นำตัวเลขในชีวิตประจำวันมาปรับใช้ในเรื่องวันในหนึ่งสัปดาห์และวันเกิดของเด็กในแต่ละเดือน พร้อมกับสอนวิธีดัดแปลงของประดิษฐ์มาสามารถใช้ได้หลายอย่างและเกิดประโยชน์

การนำไประยุกต์ใช้
            - สามารถนำวิธีการทำวันที่ และเดือนเกิดมาปรับมาใช้ได้
            - สามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนไปใช้ในอนาคตได้
            - สามารถนำเพลงมาดัดแปลงเนื้อหาให้เข้ากับสาระที่เรียนได้
            - สามารถนำแนวคิดการประดิษฐ์ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์หลายอย่างได้

ทักษะที่ได้
             - แนวคิด
             - การตั้งเกณฑ์
             - การนับ
             - การดัดแปลง

บรรยากาศในห้องเรียน
             สนุก เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน

ประเมินตนเอง
             ตั้งใจเรียนดี แต่ต้องทำความเข้าใจเนื้อหาของบทความที่ออกไปนำเสนอให้มากกว่านี้

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ชดเชย (วันศุกร์ ที่ 22 มกราคม 2559) วันพุธ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา  15.30 - 17.00 น.

บันทึกการเรียนรู้
ชดเชย (วันศุกร์ ที่ 22 มกราคม 2559)
วันพุธ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา  15.30 - 17.00 น.

ความรู้ที่ได้รับ
        อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษานำป้ายชื่อไปติดหน้าชั้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่อง คือคนตื่นก่อนเจ็ดโมงเช้ากับหลังเจ็ดโมงเช้า และดูพัฒนาการ ความสามารถตามอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีขั้นตอนอย่างต่อเนื่องของเด็ก และเรื่มเนื้อหาการเรียนตามสาระดังนี้
       สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
- มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
       จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ใช้ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
       การรวมและการแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวม
- การรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลรวม ไม่เกิน 10
- ความหมายของการแยก
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
        สาระที่ 2 : การวัด
- มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
        ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร
- การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
- การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
- การเปรียบเทียบปริมาตร / การตวง
         เงิน
- ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
         เวลา
- ช่วงเวลาในแต่ละวัน
- ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน
          สาระที่ 3 : เรขาคณิต
- มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
- มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
           รูปเรขาคณิตสามมิติ และ รูปเรขาคณิตสองมิติ
- ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรอย ทรงกระบอก
- รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
- การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
- การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
           สาระที่ 4 : พีชคณิต
- มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
             แบบรูปและความสัมพันธ์
- แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดหรือสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
            สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง สิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
            การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
- การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
             สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การจัดการเรียนการสอน
            อาจารย์นำเวลาในการตื่นในแต่ละวันมาประยุกต์ใช้ในการสอน โดยมีจำนวน การนับ และตัวเลขกำกับ  

การนำไปประยุกต์ใช้
         - สามารถนำเวลาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไปปรับใช้ในอนาคต
         - สามารถนำวิธีการสอนคณิตศาสตร์จากง่ายไปหายากไปปรับใช้กับเด็กได้

ทักษะที่ได้
         - จำนวน
         - การนับ
         - ตัวเลข
         - การอ่านเวลาก่อนและหลัง
         - วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
         - การสอนจากง่ายไปหายาก

บรรยากาศในการเรียน
         สนุก แต่มีความขัดข้องของระบบในห้องเรียนนิดหน่อย

ประเมินตนเอง
         สนใจการเรียนดี แต่อาจล้าจากการเรียนนิดหน่อย

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 วันศุกร์ ที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3
วันศุกร์ ที่ 29 มกราคม 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
            เริ่มการเรียนการสอนโดย อาจารย์ให้ทำบัตรรายชื่อในกระดาษแข็ง โดยให้นักศึกษาจัดการกระดาษที่ได้รับไป พอเขียนชื่อเสร็จก็ให้นำไปติดในตารางการมาเรียนที่หน้ากระดาน แล้วเริ่มเข้าสู่บทเรียนโดยการนับจำนวนบวกลบของจำนวนคนที่มา แล้วดูเนื้อหาสาระที่ต้องเรียนดังนี้
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
    สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
    สาระที่ 2 การวัด
    สาระที่ 3 เรขาคณิต
    สาระที่ 4 พีชคณิต
    สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
    สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
    1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
    2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
    3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
    4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนื่ง
    5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
    6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
             จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาที่ต้องออกมานำเสนอในแต่ละสัปดาห์ที่รับผิดชอบออกมานำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และงานวิจัย แล้วสอนร้องเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน มึ 7 เพลง ดังนี้
เพลง สวัสดียามเช้า
              ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า  อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว  กินอาหารของดีมีทั่ว  หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน  สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน  หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่นลันลา หลั่นลา หลั่นล้า
เพลง สวัสดีคุณครู
             สวัสดีคุณครูที่รัก  หนูจะตั้งใจอ่านเขียน  ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย

เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน
              หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน  อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน   อาทิตย์  จันทร์  อังคาร  พุธ  พฤหัสบดี  ศุกร์  เสาร์

เพลง เข้าแถว
               เข้าแถว เข้าแถว  อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน  อย่ามัวแชเชือน  เดินตามเพื่อนให้ทัน  ระวังเดินชนกัน  เข้าแถวพลันว่องไว

เพลง จัดแถว
              สองมือเราชูตรง  แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า  ต่อไปย้ายไปข้างหน้า  แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง ซ้าย - ขวา
              ยืนให้ตัวตรง  ก้มหัวลง ตบมือแผละ  แขนซ้ายอยู่ไหน  หันไปทางนั้นแหละ

เพลง ขวดห้าใบ
              ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)  เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา  คงเหลือขวดกี่ใบ วางอยู่บนกำแพง  ลดลงเหลือสี่ (จดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)  ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

การจัดการเรียนการสอน
             อาจารย์นับวิธีการใช้ในชีวิตประจำวันมาประยุกต์ใช้สอนเนื้อหาการเรียน และนำเพลงเข้ามาสอดแทรก

การนำไปประยุกต์ใช้
            - การสอนคณิตศาสตร์การนับ การบวกลบ
            - การสอนคณิตศาสตร์ใยชีวิตประจำวัน

ทักษะที่ได้
            - ลำดับ
            - ตำแหน่ง
            - การนับ
            - การคำนวณ
            - การเปรียบเทียบ
            - การบวกลบ

บรรยากาศในการเรียน
            สะดวกต่อการเรียนการสอน เรียนสนุก ไม่ตึงเครียด และได้ฝึกการคิดอยู่ตลอดเวลา

ประเมินตนเอง
             วันนี้ยังสนใจจดเนื้อเพลงมากกว่าฝึกร้องตามอาจารย์ ทำให้จำทำนองและร้องไม่ค่อยได้

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

ตัวอย่างการสอน

ผลไม้แสนสนุก คุณครูไพพร ถิ่นทิพย์ รร.บ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร)

           การจัดประสบการณ์ของ ครูไพพร ถิ่นทรัพย์ ได้บูรณาการ 3 กิจกรรมเข้าด้วยกัน คือ การเคลื่อนไหวและจังหวะ เสริมประสบการณ์ และสร้งสรรค์ กิจกรรมผลไม้ ครูให้ครูเด็กๆ ท่องคำคล้องจ้องทีละวรรคๆ และสนทนากับเด็กถึงชื่อผลไม้ในคำคล้องจ้อง เพื่อฝึกและเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก สอดแทรกการสอนโดยนำเพลงจ้ำจี้ผลไม้มาเกริ่นนำ แล้วให้เคลื่อนไหวตามอิสระ ใช้วิธีการที่พาเด็กไปศึกษาจากสถานที่จริง คือ ตลาด โดยครูต้องไปติดต่อประสานงานกับที่ตลาดไว้ก่อน ก่อนที่จะพาเด็กไปต้องสร้างข้อตกลง โดยห้เด็กแสดงความคิดเห็น เช่น ไม่เดินแตกแถว ไม่แซงเพื่อนข้างหน้า เป็นต้น และให้เด็กตั้งคำถามว่าในสิ่งที่เด็กอยากรู้ไว้ถามแม่ค้า เสริมให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน คือ
1. ด้านร่างกาย เด็กได้เดิน ได้ออกกำลังกาย
2. ด้านสติปํญญา เด็กได้คิด ได้สังเกต
3. ด้านสังคม เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อค้าแม่ค้า
4. ด้านอารมณ์ เด็กได้สนุกสนานเพลิดเพลิน
5. ด้านคุณธรรม เด็กมีสัมมาคาราวะที่ดี
              การจัดประสบการณ์ เน้นการปฏิบัติจริง ทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วจากปรสบการณ์ตรง เด็กได้จับ ได้ลิ้มรส การไปตลาดทำให้เด็กได้พบเห็นสิ่งต่างๆ มากมาย เด็กๆ ตื่นเต้นมาก และทักทายพ่อค้าแม่ค้าทั่วตลาด แล้วให้แม่ค้าช่วยอธิบายแนะนำวิธีการเลือกผลไม้และประโยชน์ของผลไม้ว่าเป็นอย่างไร โดยแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปด้วย พอซื้อส้มแล้วครูก็ให้เด็กนับจำนวนส้มว่า 1 กิโลกรัม ได้ส้มกี่ลูก เพื่อสอดแทรกจำนวนนับในวิชาคณิตศาสตร์เข้าไป หลังจากกลับจากตลาด ก็ให้เด็กถ่ายทอดจินตนาการของตนเองลงในกระดาษ โดยวิธีการการฉีกปะ ปั้นดินน้ำมัน วาดภาพระบายสี จากสีน้ำ เทียน แล้วออกมานำเสนอผลงานของตนเอง

งานวิจัย

สรุปงานวิจัย
การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะ
โดยใช้การสอนแบบสาธิตการประยุกต์ใชทารำมวยโบราณ
ที่มีตอพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2

การศึกษาค้นคว้าอิสระของ รติกร อินานนท์

เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนสิงหาคม 2552
ลิขสทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ความมุงหมายของการศึกษาค้นควา
          1.  เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้การสอนแบบสาธิตการประยุกต์ใชทารำมวยโบราณที่มีตอพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  75/75  
          2.  เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2 กอนและหลังไดรับการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้การสอนแบบสาธิตการประยุกต์ใชทารามวยโบราณ

กลุ่มตัวอย่าง
         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นเด็กชั้นอนุบาลปที่ 2  ภาคเรียนที่ 2  ปการศึกษา 2551  โรงเรยนบ้านม่วงลายราษฎร์ผดุงศิลป์ ตําบลม่วงลาย อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จํานวน 1 หองเรียนจํานวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มกลุม  (Cluster  Random  Sampling)

ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล
          ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ภาคเรียนที่ 2  ปการศึกษา 2551  ระหว่างวันที่ 9 กุมภาพนธ์ 2552  ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2552  ดําเนินการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วันวันละ 30 นาทีรวมทั้งสิ้น 30 วัน

เครื่องมือที่ใช้
            แผนการจัดประสบการณ์และแบบประเมินพฤติกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใชวิธีสอนแบบสาธิตการประยุกต์ใชทารามวยโบราณที่มีตอพัฒนาการของเด็กชั้นอนุบาลปที่  2  มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ดังนี้  
             75  ตัวแรกหมายถึงรอยละ 75 ของคะแนนเฉลี่ยของเด็กทุกคนจากการประเมินพฤตกรรมทายแผนการจดประสบการณจํานวน 6 ทา 6 ชุดทั้งหมดระหวางเรียนซึ่งไดคาเฉลี่ยรอยละ 75 ขึ้นไป 
             75  ตัวหลังหมายถึงรอยละ 75 ของคะแนนเฉลี่ยของเด็กทุกคนจากการประเมินพัฒนาการทั้ง 4  ดาน คือ ดานรางกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปญญา หลังเรียนซึ่งไดคาเฉลี่ยรอยละ 75 ขึ้นไป

สรุปผล
        แผนการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้การสอนแบบสาธิตการประยุกต์ใชทารำมวยโบราณที่มีตอพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2  มีประสิทธิภาพ 81.16/86.28  ซึ่งสูงกว่าเกณฑที่กําหนดไว้ 75/75 และผลการเปรียบเทียบพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2  ที่จัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้การสอนแบบสาธิตการประยุกต์ใชทารำมวยโบราณที่มีตอพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่2 วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่2
วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
          เนื้อหาโครงสร้างแยกย่อยของรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการทำเป็น Mild Mapping แยกส่วนออกมา รู้ถึงวิธีการการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

การจัดการเรียนการสอน
           มีความเหมาะสมต่อเวลา การเรียนมีความสนุก เพลิดเพลิน ไม่ตึงเครียด และสามารถเข้าใจในเนื้อหาการเรียนได้ง่าย

การประเมิน
            วันนี้ยังมีส่วนร่วมในการเรียนไม่มากนะในเวลาตอบคำถาม สนทนาระหว่างเรียนกับอาจารย์

การนำไปประยุกต์ใช้
            สามารถนำวิธีการแก้ไขปัญหาคณิตศาสตร์จากในห้องเรียน ไปปรับใช้ในอนาคตเมื่อไปฝึกสอนหรือทำงานต่อไป

บทความ

สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
              
           การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ไม่จำเป็นต้องท่องจำ แต่เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากชีวิตประจำวัน การเล่น หรือจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น การนับต้นไม้ ซึ่งมีทั้งการนับ ขนาด ปริมาณ น้ำหนัก การเปรียบเทียบ เด็กสามารถสร้างพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้แต่แรกเกิด ขวบปีแรก เขาสามารถเชื่อมโยงความคิดกับตัวเลขด้วยการตีความง่ายๆ เรียนรู้ว่ามีจมูกหนึ่งจมูก มีตาสองตา รู้จังหวะเคลื่อนไหวจากการคลาน โดยถูกการกระตุ้นหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมรอบตัว สิ่งเหล่านี้จึงเป็นบันไดสำคัญที่จะพัฒนาไปสู่การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเจ้าตัวเล็กในช่วงวัยต่อไป ขวบปีที่สอง เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น สามารถจัดประเภทสิ่งของได้ทำให้ลูกเข้าใจจำนวน ตัวเลข รู้จักนับนิ้วมือ 1 2 3 เรียนรู้ความแตกต่างของรูปทรง การจับคู่ รู้จักการใช้เหตุผล มีจินตนาการและเห็นการเชื่อมโยงของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น เมื่อตีกลองเขารู้ว่าจะต้องมีเสียงดัง สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ต้องกระตุ้นลูกบ่อยๆ จะทำให้เขาเข้าใจความหมายและรู้จักนำจินตนาการมาใช้ได้ดีขึ้น ขวบปีที่สาม ลูกจะเห็นการจับคู่เป็นเรื่องง่ายแล้วค่ะ วัยนี้จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ใช้ทั้งความคิด ความมีเหตุผล และเห็นการเชื่อมโยงกันให้มากขึ้น เช่น ลูกมีตุ๊กตากี่ตัวจ๊ะ ลูกต้องการรถกี่คัน หรืออาจจะให้ลูกช่วยจัดโต๊ะอาหาร ให้อาหารสัตว์ หรือไปซื้อของ ลูกจะได้เรียนรู้ การจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ การจัดวาง เป็นต้น พีธากอรัส นักคณิตศาสตร์ ชาวกรีก กล่าวไว้ว่า “หลายสิ่งหลายอย่างสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยคณิตศาสตร์” คาร์ล เฟรดริช เกาส์ นักคณิตศาสตร์ที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ กล่าวว่า “คณิตศาสตร์ไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นการเรียนรู้ที่ให้ความเพลิดเพลินสูงสุด”

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทีกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1 วันศุกร์ ที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทีกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1
วันศุกร์ ที่ 8 มกราคม 2559
เวลา 08:30 - 12:30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
           วิธีการเรียนการสอน เนื้อหา กฎกติกาของรายวิชา EAED2204  เพื่อเป็นข้อตกลงของรายวิชานี้

การจัดการเรียนการสอน
           เนื้อหาการเรียน เวลา สถานที่ มีความเหมาะสมในสะดวกต่อการเรียน

วิเคราะห์ตนเอง
            วันแรกยังมาสายหลังครูเข้าสอน 1 นาที เนื่องจากออกจากบ้านสาย ครั้งต่อไปต้องปรับเวลาให้เร็วขึ้น

การประยุกต์ใช้
              สามารถนำกฎกติกา เนื้อหาในวันนี้ไปใช้ในหาข้อมูลและทำรายงานตามการเรียนได้