วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ชดเชย (วันศุกร์ ที่ 22 มกราคม 2559) วันพุธ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา  15.30 - 17.00 น.

บันทึกการเรียนรู้
ชดเชย (วันศุกร์ ที่ 22 มกราคม 2559)
วันพุธ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา  15.30 - 17.00 น.

ความรู้ที่ได้รับ
        อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษานำป้ายชื่อไปติดหน้าชั้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่อง คือคนตื่นก่อนเจ็ดโมงเช้ากับหลังเจ็ดโมงเช้า และดูพัฒนาการ ความสามารถตามอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีขั้นตอนอย่างต่อเนื่องของเด็ก และเรื่มเนื้อหาการเรียนตามสาระดังนี้
       สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
- มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
       จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ใช้ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
       การรวมและการแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวม
- การรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลรวม ไม่เกิน 10
- ความหมายของการแยก
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
        สาระที่ 2 : การวัด
- มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
        ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร
- การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
- การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
- การเปรียบเทียบปริมาตร / การตวง
         เงิน
- ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
         เวลา
- ช่วงเวลาในแต่ละวัน
- ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน
          สาระที่ 3 : เรขาคณิต
- มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
- มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
           รูปเรขาคณิตสามมิติ และ รูปเรขาคณิตสองมิติ
- ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรอย ทรงกระบอก
- รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
- การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
- การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
           สาระที่ 4 : พีชคณิต
- มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
             แบบรูปและความสัมพันธ์
- แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดหรือสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
            สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง สิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
            การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
- การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
             สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การจัดการเรียนการสอน
            อาจารย์นำเวลาในการตื่นในแต่ละวันมาประยุกต์ใช้ในการสอน โดยมีจำนวน การนับ และตัวเลขกำกับ  

การนำไปประยุกต์ใช้
         - สามารถนำเวลาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไปปรับใช้ในอนาคต
         - สามารถนำวิธีการสอนคณิตศาสตร์จากง่ายไปหายากไปปรับใช้กับเด็กได้

ทักษะที่ได้
         - จำนวน
         - การนับ
         - ตัวเลข
         - การอ่านเวลาก่อนและหลัง
         - วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
         - การสอนจากง่ายไปหายาก

บรรยากาศในการเรียน
         สนุก แต่มีความขัดข้องของระบบในห้องเรียนนิดหน่อย

ประเมินตนเอง
         สนใจการเรียนดี แต่อาจล้าจากการเรียนนิดหน่อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น