วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5
วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนโดยการแจกกระดาษให้คนละหนึ่งแผ่น แล้วให้ทำตาราง 2 ตาราง ตารางแรก 2 แถว 10 ช่อง  ตารางที่สอง 4 แถว 10 ช่อง  ตารางแรกให้แรเงา 2 ช่อง ตารางที่สองให้แรเงา 3 ช่อง แล้วถามวิธีการแก้ปัญหาในการสอนเด็กเรื่องรูปทรง การนำรูปในตารางไปใช้ วิธีการสังเกตว่ารูปทรงนั้นจะหมุนไปตามทิศทางเดียวกันเมื่อเปลี่ยนมุม โดยการสอนเรื่องนี้ ต้องให้เด็กมีอิสระในการคิด การทำ เพราะเป็นวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และต้องเลือกรูปที่ง่ายต่อการตัดของเด็ก เช่น รูปสี่เหลี่ยม จำนวน 2 - 3 รูป ที่สามารถสร้างรูปทรงได้อีกหลายๆ รูปทรง ต้องจัดกิจกรรมให้เด็กลองทำก่อน แล้วค่อยตัดออกมาให้เด็กทำ เป็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กสืบเสาะ และวิธีการเรียนรู้ต้องสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน สอดคล้องกับการเรียนรู้ โดยระหว่างทำตารางแรเงา อาจารย์ก็ให้ดูหนังสือนิทานเรื่อง เต่าน้อยหัดวาดรูป ไปด้วย จากนั้นก็ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และงานวิจัย ตามตารางที่รับผิดชอบ จากนั้นอาจารย์ก็ให้ดูวีดีโอการสอนโปรเจ็คเรื่องเห็ด ของโรงเรียนเกษมพิทยา เพื่อเป็นตัวอย่างในการทำรายงานของนักศึกษา โดยการทำ Mind Map ต้องเรียงจากขวาไปซ้าย หรือการเดินตามเข็มนาฬิกา






การนำไปประยุกต์ใช้
        - สามารถนำวิธีการสอนรูปทรงไปปรับใช้เป็นตัวอย่างการสอนในอนาคตได้
        - สามารถนำวิธีการจัดการเรียนการสอนไปปรับใช้เป็นตัวอย่างการสอนในอนาคตได้
        - สามารถนำรูปทรงต่างๆ มาสอดแทรกการสอนเรื่องคณิตศาสตร์กับเด็กในชีวิตประจำวันได้

การจัดการเรียนการสอน
        อาจารย์นำรูปทรงต่างๆ มาสอดแทรกให้สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน และสอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก
บรรยากาศในการเรียน
        สนุกสนาน แต่มีตอนทำตารางที่งงอยู่บ้างในตอนแรก
ทักษะที่ได้รับ
       - การสังเกต
       - วิธีการทำให้เกิดการเรียนรู้
       - รูปทรง
       - วิธีการจัดการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน

การประเมินตนเอง
       สนุก ตั้งใจเรียนดี สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย 

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4 วันศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4
วันศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
          อาจารย์เริ่มการเรียนโดยการนำบอร์ดวันที่มาด้วยดู แล้วให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์รายละเอียดในบอร์ดกว่าขาดอะไรไปบ้าง และจะนำไปดัดแปลงกับกิจกรรมอื่นได้อย่างไร เช่น เวรประจำวันของเด็ก รายชื่อวันเกิดของเด็กในแต่ละเดือน เป็นต้น และวิธีการสอน ตั้งเกณฑ์ เครื่องมือในการใช้ประดิษฐ์ เลขที่เกี่ยวกับในชีวิตประจำวันของเด็ก แล้วให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ แล้วสอนเพลงเก็บเด็ก และให้แต่งดัดแปลงเพลงจากเพลงบวก-ลบ ดังนี้
เพลง จับปู
หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า     จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
      หก เจ็ด แปด เก้า สิบ    ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
 กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ    นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
อีกฝูงบินล่องลอยมา  หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว

เพลง นับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน             มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว             มือขวาก็มีห้านิ้ว
                                               นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า   นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
                                               นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ            นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

เพลง บวก-ลบ
                                               บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ      ครูให้อีกสามใบนะเธอ
                                               มารวมกันนับดีดีซิเออ    ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
                                               บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ   หายใจสามใบนะเธอ
                                               ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ     ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

เพลง บวก-ลบ (ดัดแปลง)
                                              อ่างน้ำมีปลาน้อยหกตัว    เพื่อนให้อีกสามตัวนะเธอ
                                              มารวมกันนับดีดีซิเออ       ดูซิเธอรวมกันได้เก้าตัว
                                              อ่างน้ำปลาน้อยเก้าตัว      หายไปสามตัวนะเธอ
                                              ฉันหาปลาน้อยไม่เจอ       ดูซิเออเหลือเพียงแค่หกตัว

เพลง แม่ไก่ออกไข่
                                               แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง      ไข่วันละฟอง
                                               แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน        หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
                                               (นับต่อไปเรื่อยๆ)
                                               แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน         สิบวันได้ไข่สิบฟอง

เพลง ลูกแมวสิบตัว
                                       ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้            น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
                                       ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป     นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
                                              (ลดจำนวนลงไปตามลำดับจนกระทั่งเหลือหนึ่งตัว)
                                       ลูกแมวหนึ่งตัวก็เหลือน้อยลงไป   นับดูใหม่ไม่เหลือลูกแมวสักตัว

การจัดการเรียนการสอน
             อาจารย์นำตัวเลขในชีวิตประจำวันมาปรับใช้ในเรื่องวันในหนึ่งสัปดาห์และวันเกิดของเด็กในแต่ละเดือน พร้อมกับสอนวิธีดัดแปลงของประดิษฐ์มาสามารถใช้ได้หลายอย่างและเกิดประโยชน์

การนำไประยุกต์ใช้
            - สามารถนำวิธีการทำวันที่ และเดือนเกิดมาปรับมาใช้ได้
            - สามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนไปใช้ในอนาคตได้
            - สามารถนำเพลงมาดัดแปลงเนื้อหาให้เข้ากับสาระที่เรียนได้
            - สามารถนำแนวคิดการประดิษฐ์ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์หลายอย่างได้

ทักษะที่ได้
             - แนวคิด
             - การตั้งเกณฑ์
             - การนับ
             - การดัดแปลง

บรรยากาศในห้องเรียน
             สนุก เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน

ประเมินตนเอง
             ตั้งใจเรียนดี แต่ต้องทำความเข้าใจเนื้อหาของบทความที่ออกไปนำเสนอให้มากกว่านี้

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ชดเชย (วันศุกร์ ที่ 22 มกราคม 2559) วันพุธ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา  15.30 - 17.00 น.

บันทึกการเรียนรู้
ชดเชย (วันศุกร์ ที่ 22 มกราคม 2559)
วันพุธ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา  15.30 - 17.00 น.

ความรู้ที่ได้รับ
        อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษานำป้ายชื่อไปติดหน้าชั้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่อง คือคนตื่นก่อนเจ็ดโมงเช้ากับหลังเจ็ดโมงเช้า และดูพัฒนาการ ความสามารถตามอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีขั้นตอนอย่างต่อเนื่องของเด็ก และเรื่มเนื้อหาการเรียนตามสาระดังนี้
       สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
- มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
       จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ใช้ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
       การรวมและการแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวม
- การรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลรวม ไม่เกิน 10
- ความหมายของการแยก
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
        สาระที่ 2 : การวัด
- มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
        ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร
- การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
- การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
- การเปรียบเทียบปริมาตร / การตวง
         เงิน
- ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
         เวลา
- ช่วงเวลาในแต่ละวัน
- ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน
          สาระที่ 3 : เรขาคณิต
- มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
- มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
           รูปเรขาคณิตสามมิติ และ รูปเรขาคณิตสองมิติ
- ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรอย ทรงกระบอก
- รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
- การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
- การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
           สาระที่ 4 : พีชคณิต
- มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
             แบบรูปและความสัมพันธ์
- แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดหรือสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
            สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง สิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
            การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
- การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
             สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การจัดการเรียนการสอน
            อาจารย์นำเวลาในการตื่นในแต่ละวันมาประยุกต์ใช้ในการสอน โดยมีจำนวน การนับ และตัวเลขกำกับ  

การนำไปประยุกต์ใช้
         - สามารถนำเวลาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไปปรับใช้ในอนาคต
         - สามารถนำวิธีการสอนคณิตศาสตร์จากง่ายไปหายากไปปรับใช้กับเด็กได้

ทักษะที่ได้
         - จำนวน
         - การนับ
         - ตัวเลข
         - การอ่านเวลาก่อนและหลัง
         - วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
         - การสอนจากง่ายไปหายาก

บรรยากาศในการเรียน
         สนุก แต่มีความขัดข้องของระบบในห้องเรียนนิดหน่อย

ประเมินตนเอง
         สนใจการเรียนดี แต่อาจล้าจากการเรียนนิดหน่อย

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 วันศุกร์ ที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3
วันศุกร์ ที่ 29 มกราคม 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
            เริ่มการเรียนการสอนโดย อาจารย์ให้ทำบัตรรายชื่อในกระดาษแข็ง โดยให้นักศึกษาจัดการกระดาษที่ได้รับไป พอเขียนชื่อเสร็จก็ให้นำไปติดในตารางการมาเรียนที่หน้ากระดาน แล้วเริ่มเข้าสู่บทเรียนโดยการนับจำนวนบวกลบของจำนวนคนที่มา แล้วดูเนื้อหาสาระที่ต้องเรียนดังนี้
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
    สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
    สาระที่ 2 การวัด
    สาระที่ 3 เรขาคณิต
    สาระที่ 4 พีชคณิต
    สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
    สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
    1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
    2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
    3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
    4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนื่ง
    5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
    6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
             จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาที่ต้องออกมานำเสนอในแต่ละสัปดาห์ที่รับผิดชอบออกมานำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน และงานวิจัย แล้วสอนร้องเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน มึ 7 เพลง ดังนี้
เพลง สวัสดียามเช้า
              ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า  อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว  กินอาหารของดีมีทั่ว  หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน  สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน  หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่นลันลา หลั่นลา หลั่นล้า
เพลง สวัสดีคุณครู
             สวัสดีคุณครูที่รัก  หนูจะตั้งใจอ่านเขียน  ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย

เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน
              หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน  อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน   อาทิตย์  จันทร์  อังคาร  พุธ  พฤหัสบดี  ศุกร์  เสาร์

เพลง เข้าแถว
               เข้าแถว เข้าแถว  อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน  อย่ามัวแชเชือน  เดินตามเพื่อนให้ทัน  ระวังเดินชนกัน  เข้าแถวพลันว่องไว

เพลง จัดแถว
              สองมือเราชูตรง  แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า  ต่อไปย้ายไปข้างหน้า  แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง ซ้าย - ขวา
              ยืนให้ตัวตรง  ก้มหัวลง ตบมือแผละ  แขนซ้ายอยู่ไหน  หันไปทางนั้นแหละ

เพลง ขวดห้าใบ
              ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)  เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา  คงเหลือขวดกี่ใบ วางอยู่บนกำแพง  ลดลงเหลือสี่ (จดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)  ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

การจัดการเรียนการสอน
             อาจารย์นับวิธีการใช้ในชีวิตประจำวันมาประยุกต์ใช้สอนเนื้อหาการเรียน และนำเพลงเข้ามาสอดแทรก

การนำไปประยุกต์ใช้
            - การสอนคณิตศาสตร์การนับ การบวกลบ
            - การสอนคณิตศาสตร์ใยชีวิตประจำวัน

ทักษะที่ได้
            - ลำดับ
            - ตำแหน่ง
            - การนับ
            - การคำนวณ
            - การเปรียบเทียบ
            - การบวกลบ

บรรยากาศในการเรียน
            สะดวกต่อการเรียนการสอน เรียนสนุก ไม่ตึงเครียด และได้ฝึกการคิดอยู่ตลอดเวลา

ประเมินตนเอง
             วันนี้ยังสนใจจดเนื้อเพลงมากกว่าฝึกร้องตามอาจารย์ ทำให้จำทำนองและร้องไม่ค่อยได้