วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

ตัวอย่างการสอน

ผลไม้แสนสนุก คุณครูไพพร ถิ่นทิพย์ รร.บ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร)

           การจัดประสบการณ์ของ ครูไพพร ถิ่นทรัพย์ ได้บูรณาการ 3 กิจกรรมเข้าด้วยกัน คือ การเคลื่อนไหวและจังหวะ เสริมประสบการณ์ และสร้งสรรค์ กิจกรรมผลไม้ ครูให้ครูเด็กๆ ท่องคำคล้องจ้องทีละวรรคๆ และสนทนากับเด็กถึงชื่อผลไม้ในคำคล้องจ้อง เพื่อฝึกและเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก สอดแทรกการสอนโดยนำเพลงจ้ำจี้ผลไม้มาเกริ่นนำ แล้วให้เคลื่อนไหวตามอิสระ ใช้วิธีการที่พาเด็กไปศึกษาจากสถานที่จริง คือ ตลาด โดยครูต้องไปติดต่อประสานงานกับที่ตลาดไว้ก่อน ก่อนที่จะพาเด็กไปต้องสร้างข้อตกลง โดยห้เด็กแสดงความคิดเห็น เช่น ไม่เดินแตกแถว ไม่แซงเพื่อนข้างหน้า เป็นต้น และให้เด็กตั้งคำถามว่าในสิ่งที่เด็กอยากรู้ไว้ถามแม่ค้า เสริมให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน คือ
1. ด้านร่างกาย เด็กได้เดิน ได้ออกกำลังกาย
2. ด้านสติปํญญา เด็กได้คิด ได้สังเกต
3. ด้านสังคม เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อค้าแม่ค้า
4. ด้านอารมณ์ เด็กได้สนุกสนานเพลิดเพลิน
5. ด้านคุณธรรม เด็กมีสัมมาคาราวะที่ดี
              การจัดประสบการณ์ เน้นการปฏิบัติจริง ทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วจากปรสบการณ์ตรง เด็กได้จับ ได้ลิ้มรส การไปตลาดทำให้เด็กได้พบเห็นสิ่งต่างๆ มากมาย เด็กๆ ตื่นเต้นมาก และทักทายพ่อค้าแม่ค้าทั่วตลาด แล้วให้แม่ค้าช่วยอธิบายแนะนำวิธีการเลือกผลไม้และประโยชน์ของผลไม้ว่าเป็นอย่างไร โดยแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปด้วย พอซื้อส้มแล้วครูก็ให้เด็กนับจำนวนส้มว่า 1 กิโลกรัม ได้ส้มกี่ลูก เพื่อสอดแทรกจำนวนนับในวิชาคณิตศาสตร์เข้าไป หลังจากกลับจากตลาด ก็ให้เด็กถ่ายทอดจินตนาการของตนเองลงในกระดาษ โดยวิธีการการฉีกปะ ปั้นดินน้ำมัน วาดภาพระบายสี จากสีน้ำ เทียน แล้วออกมานำเสนอผลงานของตนเอง

งานวิจัย

สรุปงานวิจัย
การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะ
โดยใช้การสอนแบบสาธิตการประยุกต์ใชทารำมวยโบราณ
ที่มีตอพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2

การศึกษาค้นคว้าอิสระของ รติกร อินานนท์

เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนสิงหาคม 2552
ลิขสทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ความมุงหมายของการศึกษาค้นควา
          1.  เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้การสอนแบบสาธิตการประยุกต์ใชทารำมวยโบราณที่มีตอพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  75/75  
          2.  เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2 กอนและหลังไดรับการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้การสอนแบบสาธิตการประยุกต์ใชทารามวยโบราณ

กลุ่มตัวอย่าง
         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นเด็กชั้นอนุบาลปที่ 2  ภาคเรียนที่ 2  ปการศึกษา 2551  โรงเรยนบ้านม่วงลายราษฎร์ผดุงศิลป์ ตําบลม่วงลาย อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จํานวน 1 หองเรียนจํานวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มกลุม  (Cluster  Random  Sampling)

ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล
          ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ภาคเรียนที่ 2  ปการศึกษา 2551  ระหว่างวันที่ 9 กุมภาพนธ์ 2552  ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2552  ดําเนินการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วันวันละ 30 นาทีรวมทั้งสิ้น 30 วัน

เครื่องมือที่ใช้
            แผนการจัดประสบการณ์และแบบประเมินพฤติกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใชวิธีสอนแบบสาธิตการประยุกต์ใชทารามวยโบราณที่มีตอพัฒนาการของเด็กชั้นอนุบาลปที่  2  มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ดังนี้  
             75  ตัวแรกหมายถึงรอยละ 75 ของคะแนนเฉลี่ยของเด็กทุกคนจากการประเมินพฤตกรรมทายแผนการจดประสบการณจํานวน 6 ทา 6 ชุดทั้งหมดระหวางเรียนซึ่งไดคาเฉลี่ยรอยละ 75 ขึ้นไป 
             75  ตัวหลังหมายถึงรอยละ 75 ของคะแนนเฉลี่ยของเด็กทุกคนจากการประเมินพัฒนาการทั้ง 4  ดาน คือ ดานรางกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปญญา หลังเรียนซึ่งไดคาเฉลี่ยรอยละ 75 ขึ้นไป

สรุปผล
        แผนการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้การสอนแบบสาธิตการประยุกต์ใชทารำมวยโบราณที่มีตอพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2  มีประสิทธิภาพ 81.16/86.28  ซึ่งสูงกว่าเกณฑที่กําหนดไว้ 75/75 และผลการเปรียบเทียบพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2  ที่จัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้การสอนแบบสาธิตการประยุกต์ใชทารำมวยโบราณที่มีตอพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่2 วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 08.30 - 12.30 น.

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่2
วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
          เนื้อหาโครงสร้างแยกย่อยของรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการทำเป็น Mild Mapping แยกส่วนออกมา รู้ถึงวิธีการการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

การจัดการเรียนการสอน
           มีความเหมาะสมต่อเวลา การเรียนมีความสนุก เพลิดเพลิน ไม่ตึงเครียด และสามารถเข้าใจในเนื้อหาการเรียนได้ง่าย

การประเมิน
            วันนี้ยังมีส่วนร่วมในการเรียนไม่มากนะในเวลาตอบคำถาม สนทนาระหว่างเรียนกับอาจารย์

การนำไปประยุกต์ใช้
            สามารถนำวิธีการแก้ไขปัญหาคณิตศาสตร์จากในห้องเรียน ไปปรับใช้ในอนาคตเมื่อไปฝึกสอนหรือทำงานต่อไป

บทความ

สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
              
           การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ไม่จำเป็นต้องท่องจำ แต่เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากชีวิตประจำวัน การเล่น หรือจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น การนับต้นไม้ ซึ่งมีทั้งการนับ ขนาด ปริมาณ น้ำหนัก การเปรียบเทียบ เด็กสามารถสร้างพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้แต่แรกเกิด ขวบปีแรก เขาสามารถเชื่อมโยงความคิดกับตัวเลขด้วยการตีความง่ายๆ เรียนรู้ว่ามีจมูกหนึ่งจมูก มีตาสองตา รู้จังหวะเคลื่อนไหวจากการคลาน โดยถูกการกระตุ้นหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมรอบตัว สิ่งเหล่านี้จึงเป็นบันไดสำคัญที่จะพัฒนาไปสู่การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเจ้าตัวเล็กในช่วงวัยต่อไป ขวบปีที่สอง เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น สามารถจัดประเภทสิ่งของได้ทำให้ลูกเข้าใจจำนวน ตัวเลข รู้จักนับนิ้วมือ 1 2 3 เรียนรู้ความแตกต่างของรูปทรง การจับคู่ รู้จักการใช้เหตุผล มีจินตนาการและเห็นการเชื่อมโยงของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น เมื่อตีกลองเขารู้ว่าจะต้องมีเสียงดัง สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ต้องกระตุ้นลูกบ่อยๆ จะทำให้เขาเข้าใจความหมายและรู้จักนำจินตนาการมาใช้ได้ดีขึ้น ขวบปีที่สาม ลูกจะเห็นการจับคู่เป็นเรื่องง่ายแล้วค่ะ วัยนี้จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ใช้ทั้งความคิด ความมีเหตุผล และเห็นการเชื่อมโยงกันให้มากขึ้น เช่น ลูกมีตุ๊กตากี่ตัวจ๊ะ ลูกต้องการรถกี่คัน หรืออาจจะให้ลูกช่วยจัดโต๊ะอาหาร ให้อาหารสัตว์ หรือไปซื้อของ ลูกจะได้เรียนรู้ การจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ การจัดวาง เป็นต้น พีธากอรัส นักคณิตศาสตร์ ชาวกรีก กล่าวไว้ว่า “หลายสิ่งหลายอย่างสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยคณิตศาสตร์” คาร์ล เฟรดริช เกาส์ นักคณิตศาสตร์ที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ กล่าวว่า “คณิตศาสตร์ไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นการเรียนรู้ที่ให้ความเพลิดเพลินสูงสุด”

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทีกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1 วันศุกร์ ที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทีกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1
วันศุกร์ ที่ 8 มกราคม 2559
เวลา 08:30 - 12:30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
           วิธีการเรียนการสอน เนื้อหา กฎกติกาของรายวิชา EAED2204  เพื่อเป็นข้อตกลงของรายวิชานี้

การจัดการเรียนการสอน
           เนื้อหาการเรียน เวลา สถานที่ มีความเหมาะสมในสะดวกต่อการเรียน

วิเคราะห์ตนเอง
            วันแรกยังมาสายหลังครูเข้าสอน 1 นาที เนื่องจากออกจากบ้านสาย ครั้งต่อไปต้องปรับเวลาให้เร็วขึ้น

การประยุกต์ใช้
              สามารถนำกฎกติกา เนื้อหาในวันนี้ไปใช้ในหาข้อมูลและทำรายงานตามการเรียนได้